ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศอินเดีย

Release Date : 03-08-2016 00:00:00
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศอินเดีย

ประเทศอินเดีย (อังกฤษ: India; ฮินดี: भारत) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (อังกฤษ: Republic of India; ฮินดี: भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดแปดร้อยภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทาง ทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก

ข้อมูลทั่วไป

Map of India. พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นบริเวณสีเหลือง (ความสูงตั้งแต่ 100–1000 เมตร) บางบริเวณแถบตอนใต้และตะวันออกเป็นสีน้ำตาล (ความสูงตั้งแต่ 1000 เมตร) บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเป็นบริเวณสีเขียว (ความสูงต่ำกว่า 1 เมตร)
 
แผนที่ภูมิประเทศของอินเดีย

ประเทศอินเดียเกิดขึ้นบนอนุทวีปอินเดีย (Indian subcontinent) ซึ่งตั้งอยู่บนบริเวณแผ่นเปลือกโลกอินเดีย (Indian tectonic plate) ซึ่งในอดีตนั้นเคยเชื่อมอยู่กับแผ่นออสเตรเลีย การรวมตัวทางภูมิศาสตร์ครั้งสำคัญของประเทศอินเดียนั้นเกิดขึ้นราว 75 ล้านปีก่อน เมื่ออนุทวีปอินเดียซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของมหาทวีปแห่งตอนใต้ คือ มหาทวีปกอนด์วานา (Gondwana) ได้เริ่มเคลื่อนตัวขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านที่บริเวณมหาสมุทรอินเดียซึ่งในขณะนั้นยังไม่เกิดขึ้น โดยกินเวลารวมทั้งหมดประมาณ 55 ล้านปี หลังจากนั้นอนุทวีปอินเดียนได้ชนเข้ากับแผ่นทวีปยูเรเชีย อันเป็นที่มาของการเกิดเทือกเขาที่มีความสูงที่สุดในโลก คือ เทือกเขาหิมาลัย ซึ่งอยู่บริเวณภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ตอนใต้ของเทือกเขาซึ่งเคยเป็นท้องทะเลอันกว้างขวางได้ค่อยๆกลายมาเป็นผืนดิน ราบลุ่มแม่น้ำอันกว้างใหญ่ ทำให้เกิดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาตอนเหนือของอินเดีย (Indo-Gangetic Plain) ทางภาคตะวันตกนั้นติดกับทะเลทรายธาร์ ซึ่งถูกกั้นกลางด้วยทิวเขาอะราวัลลี

อนุทวีปอินเดียนั้นได้คงอยู่จนกลายมาเป็นคาบสมุทรอินเดียใน ปัจจุบัน ซึ่งจัดเป็นส่วนที่เก่าแก่ที่สุดทางธรณีวิทยา และยังเป็นบริเวณที่มีความคงที่ทางภูมิศาสตร์ที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดีย โดยกินพื้นที่กว้างขวางจรดเทือกเขาสัทปุระ (Satpura)ทางตอนเหนือ และเทือกเขาวินธยะ (Vindhya) ในภาคกลางของอินเดีย โดยมีลักษณะคู่ขนานกันไปจรดชายฝั่งทะเลอาหรับในรัฐคุชราตทางทิศตะวันตก และที่ราบสูงโชตนาคปุระ (Chota Nagpur Plateau) ที่เต็มไปด้วยแร่รัตนชาติในรัฐฌาร์ขัณฑ์ทาง ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนทิศใต้นั้นประกอบด้วยแผ่นดินคาบสมุทรบนที่ราบสูงเดคคาน (Deccan Plateau) ซึ่งถูกขนาบโดยเทือกเขาริมทะเลทั้งสองฝั่งที่เรียกว่า เทือกเขากัทส์ทิศตะวันตก และตะวันออก(Western and Eastern Ghats) ในบริเวณนี้จะพบหินที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในอินเดีย ซึ่งมีอายุถึง 1 พันล้านปี

 
เทือกเขาเคดาร์ (Kedar Range) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหิมาลัย มองจากวิหารฮินดู (Kedarnath Temple)

ชายฝั่งของอินเดียนั้นมีระยะทางประมาณ 7,517 กิโลเมตร (4,700 ไมล์) แบ่งเป็นระยะทางบนคาบสมุทรอินเดีย 5,423 กิโลเมตร (3,400 ไมล์) และ 2,094 กิโลเมตร (1,300 ไมล์) ในหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์และลักษทวีป จากแผนที่ทะเลของอินเดียนั้น ชายฝั่งบนแผ่นดินใหญ่ของอินเดียประกอบด้วยหาดทรายถึง 43% กรวดและหิน 11% รวมถึงหน้าผา และ 46% เป็นดินเลนและโคลน

แม่น้ำในอินเดียแบ่งออกได้เป็นสี่ประเภทคือ แม่น้ำจากเทือกเขาเอเวอเรส แม่น้ำคาบสมุทรเดคคาน แม่น้ำชายฝั่ง และแม่น้ำในดินแดนภายในแม่น้ำหิมาลัย ปกติจะเกิดจากน้ำที่ละลายมาจากหิมะ ในภาคเหนือของอินเดีย ดังนั้น แม่น้ำเหล่านี้จะมีน้ำไหลเต็มที่อยู่ตลอดเวลา และมีความลาดชันค่อนข้างต่ำ ในฤดูมรสุมเมื่อฝนตกมาก แม่น้ำเหล่านี้จะรับน้ำไว้ได้ไม่หมด จึงทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่อยู่เสมอ ส่วนแม่น้ำในคาบสมุทรเดคคาน โดยปกติได้น้ำจากน้ำฝน ดังนั้นปริมาณน้ำในแม่น้ำดังกล่าว จึงมักจะมากน้อยไม่แน่นอน อีกทั้งมีความลาดชันลดหลั่นลง จึงรับน้ำได้มาก และช่วยระบายน้ำในฤดูมรสุมอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำย่อย ๆ ซึ่งไม่มีต้นกำเนิดจากแม่น้ำทั้งสองประเภทดังกล่าว และอยู่ตามชายฝั่งโดยเฉพาะในฝั่งตะวันตก จะมีเส้นทางสั้น ๆ และมีขนาดแคบ จึงรับน้ำได้ในปริมาณจำกัด สำหรับแม่น้ำในดินแดนภายใน เป็นลำน้ำเล็ก ๆ ไม่มีทางออกทะเล ปลายทางของแม่น้ำหากไม่ไหลลงแอ่งน้ำ ทะเลสาบ ก็จะเหือดแห้งไปในทะเลทรายธาร์

ระบบแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียคือ แม่น้ำคงคา (Ganges) ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย แม่น้ำสาขาในระบบแม่น้ำคงคาคือ แม่น้ำยมนา แม่น้ำกากรา แม่น้ำกันดัค และแม่น้ำโคสิ บริเวณผืนดินที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาจัดได้ว่ามีความอุดสมบูรณ์ และกว้างใหญ่ที่สุด โดยเป็นบริเวณกว้างถึงหนึ่งในสี่ของประเทศ นอกจากนั้นยังมีแม่น้ำพรหมบุตร ซึ่งมีความสำคัญรองลงมา มีสาขามากมาย ซึ่งไหลผ่านพื้นที่ส่วนใหญ่ของอินเดีย โดยไปสุดที่อ่าวเบงกอลเช่นเดียวกับแม่น้ำคงคา

ส่วนลุ่มน้ำของระบบแม่น้ำอื่น ๆ ที่มีความสำคัญ รองลงมาได้แก่ ลุ่มแม่น้ำโคธาวารีนาเลีย (Godavari) ในเขตที่ราบสูงเดคคาน ระบบน้ำตาปี (Tapi) ในภาคเหนือ และระบบน้ำเพนเนอร์ (Penner) ในภาคใต้ การที่อินเดียถูกแวดล้อมด้วยพรมแดนธรรมชาติรอบด้าน คือมีทั้งภูเขาและฝั่งทะเลเป็นพรมแดน ได้แยกอินเดียออกจากส่วนอื่น ๆ ของทวีปเอเชีย ทำให้อินเดียตั้งอยู่โดดเดี่ยวตามลำพัง ซึ่งนับว่ามีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อวิถีชีวิตของชาวอินเดีย ทำให้ชาวอินเดียมีอารยธรรมและวัฒนธรรมที่มีลักษณะของตนเองโดยเฉพาะ และในโอกาสเดียวกัน พรมแดนธรรมชาติดังกล่าว ช่วยให้สามารถรักษาวัฒนธรรมของตนให้สืบเนื่องตลอดมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึง สมัยปัจจุบัน

สภาพอากาศของอินเดียนั้นได้รับอิทธิพลจากสองแหล่งใหญ่ๆ คือเทือกเขาหิมาลัย และทะเลทรายธาร์ ทำให้มีทั้งฤดูร้อนอันอบอุ่น และฤดูหนาวที่มีมรสุม เทือกเขาหิมาลัยนั้น มีบทบาทมากในการป้องกันลมพัดลงลาดเขา (Katabatic wind) ทำให้บริเวณส่วนใหญ่ของประเทศนั้นอบอุ่นกว่าประเทศอื่นๆที่ตั้งอยู่ใน ละติจูดเดียวกัน ส่วนทะเลทรายธาร์นั้นก็มีบทบาทในการขับเคลื่อนความชื้นของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งลมมรสุมนี้เองที่ทำให้ทุกปีๆระหว่างเดือนมิถุนายนถึงตุลาคมนั้นมีฝนกรดตกในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ

จากการแบ่งเขตภูมิอากาศนั้น อินเดียประกอบด้วยภูมิอากาศหลักๆ 4 แบบได้แก่ แบบเขตร้อนชื้น (tropical wet), แบบเขตร้อนแห้งแล้ง (tropical dry), แบบอบอุ่นชื้น (subtropical humid), และแบบเทือกเขาสูง (montane)

ประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล ชาวดราวิเดียน ชาวอารยัน เริ่มกำเนิดอารยธรรมต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำสินธุ ต่อมาในสมัย อาณาจักรเมารยะ ซึ่งมีดินแดนในตอนเหนือตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำสินธุจรดอ่าวเบงกอลพระเจ้าอโศก มหาราชได้สร้างความรุ่งเรืองในการปกครองและได้สนับสนุนการเผยแผ่พุทธศาสนา ในสมัยราชวงศ์โมกุลมีการขยายอิทธิพล วัฒนธรรมโมกุลอย่างกว้างขวาง ในด้านการปกครองภาษาศิลปะสถาปัตยกรรมและศาสนาอิสลาม อังกฤษเริ่มมามีอิทธิพลในอนุทวีป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เพื่อค้าขายและครอบครองดินแดนและแทรกแซงในการเมืองท้องถิ่น จนกระทั่งอินเดียตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ หลังจากการรณรงค์ต่อต้านการปกครองของอังกฤษมาเป็นเวลานาน อินเดียจึงได้รับเอกราช และได้รับการส

รูปภาพที่เกียวข้อง
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศอินเดีย
ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง